วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อความหมายการสื่อความหมาย (Communications) หมายถึง การถ่ายทอดข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด จากผู้ส่งไปยังผู้รับ หรือจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่น ๆ ให้เกิดความรู้สึก ความเข้าใจตรงกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันการสื่อความหมายมีลักษณะเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ3.1.1 ผู้ส่งสาร (Sender) คือผู้ที่สื่อความหมายไปยังผู้รับ3.1.2 สาร (Message) คือ เรื่องราวข้อมูล ที่ผู้ส่งสารต้องการให้ผู้รับเกิดพฤติกรรมตามที่ต้องการ3.1.3 สื่อหรือช่องทาง (Channel) เป็นตัวที่ทำให้เนื้อหาสาระ มีรูปร่างลักษณะที่เหมาะสมกับการไปถึงผู้รับสารได้ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน รูปภาพ ท่าทาง สัญลักษณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือ เป็นต้น3.1.4 ผู้รับสาร (Receiver) ผู้รับสารที่ผ่าน
กระบวนการสื่อความหมาย และอุปสรรคในการสื่อความหมายกระบวนการสื่อความหมาย (Communication Process) เพื่อให้การสื่อความหมายบรรลุตามวัตถุประสงค์นั้น สิ่งที่สำคัญคือ ต้องอาศัย ความรู้ ประสบการณ์ของผู้ส่งสาร และผู้รับสารที่ใกล้เคียงกัน หรือมีปัจจัยพื้นฐานร่วมกัน (Common factor) ซึ่งได้แก
- ระบบสังคม
- ระดับการศึกษา
- วัฒนธรรม
- อาชีพ
- ฐานะทางเศรษฐกิจ
- ถิ่นที่อยู่
- เพศ/อายุ
- ความปกติทางร่างกาย
สื่อการสอนและประเภทของสื่อการสอน3.3.1 ความหมายของสื่อการสอน สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้เป็นอย่างดี สื่อที่ใช้ในการสอนนี้ อาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนก็ได้ เช่น - วัตถุสิ่งของตามธรรมชาติ - ปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ - วัตถุสิ่งของที่คิดประดิษฐ์หรือสร้างขึ้นสำหรับการสอน - คำพูดท่าทาง - วัสดุ และเครื่องมือสื่อสาร - กิจกรรมหรือกระบวนการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ3.3.2 ประเภทของสื่อการสอน ในทางเทคโนโลยีการศึกษา สามารถจำแนกประเภท ของสื่อการสอน ได้ดังนี้1) เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware) ได้แก่ สื่อประเภทที่ใช้กลไกทาง อิเล็กทรอนิกส์ และไฟฟ้า เช่น เครื่องฉาย เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ เป็นต้น 2) วัสดุ (Software) ได้แก่ สื่อประเภทที่มีลักษณะ ดังนี้ - ใช้ควบคู่กับเครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น ฟิล์ม แผ่นโปร่งใส สไลด์ เทป ฯลฯ - ใช้ตามลำพังของตนเอง เช่น กระดาษ รูปภาพ แผนที่ ลูกโลก หนังสือ ฯลฯ 3) วิธีการ (Techniques or Methods) ได้แก่ กระบวนการหรือกรรมวิธี ซึ่งใน บางครั้ง อาจต้องใช้วัสดุ และเครื่องมือประกอบกัน เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ได้แก่ การแสดงละคร การเชิดหุ่น การสาธิต การศึกษานอกสถานที่ การจัดนิทรรศการ การใช้คอมพิวเตอร์ ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้นหลักการใช้สื่อการเรียนการสอนการใช้สื่อการสอน เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ควรปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเลือกสื่อการเรียนการสอน มีแนวทางดังนี้1.1 ความสัมพันธ์กับหลักสูตร/เนื้อหาวิชา โดยพิจารณาจากความสอดคล้องกับ จุดประสงค์ และผู้เรียน เหมาะกับเวลา สถานที่และน่าสนใจ 1.2 ความสัมพันธ์กับคุณภาพทางเทคนิค โดยคำนึงถึงความทันสมัยราคา ความปลอดภัย 1.3 ความสัมพันธ์กับครูผู้ใช้ โดยเน้นในเรื่อง ความรู้จัก ทักษะ การใช้ความ เข้าใจสื่อที่ใช้เป็นอย่างดีขั้นตอนที่ 2 ขั้นเตรียมการใช้สื่อการสอน 2.1 เตรียมครูผู้สอน 2.2 เตรียมผู้เรียน 2.3 เตรียมสถานที่ 2.4 เตรียมสื่อขั้นตอนที่ 3 ขั้นแสดงสื่อการสอนในชั้นเรียน โดยดำเนินการในด้าน 3.1 ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม 3.2 ใช้ในเวลาที่เหมาะสม 3.3 สังเกตการตอบสนองของผู้เรียนขั้นตอนที่ 4 ขั้นติดตามผล 4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการใช้สื่อ 4.2 ผลการใช้สื่อ เพื่อปรับปรุงและพัฒนา ประโยชน์และคุณค่าของสื่อการเรียนการสอนสื่อการสอนมีประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนการสอน ดังนี้3.5.1 ทำให้เนื้อหาความรู้ที่สอนมีความหมายต่อผู้เรียนมากขึ้น 3.5.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ในปริมาณที่มากขึ้นในเวลาที่กำหนด 3.5.3 เร้าความสนใจของผู้เรียน 3.5.4 เป็นเครื่องชี้แนะการตอบสนองของผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นการสอนแบบใด 3.5.5 ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะ และกระบวนการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา 3.5.6 เอาชนะขีดจำกัดต่าง ๆ ทางกายภาพ เช่น - ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น - ทำนามธรรมให้เป็นรูปธรรม - ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวให้เร็วขึ้นหรือช้าลงได้ - ขยาย หรือย่อขนาดของสื่อให้การศึกษาได้ - นำอดีตมาศึกษาได้ - นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้ 3.5.7 เป็นเครื่องมือของครูในการวินิจฉัยผลการเรียนและช่วยการสอน
เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศน์ศึกษาให้กว้างขวาง ยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ หรือโสตทัศนูปกรณ์เทคโนโลยีทางการศึกษามีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจพิจารณาจากความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ ดังนี้
1.2.1 ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่า มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน เน้นเรื่องวัสดุ อุปกรณ์ มากกว่าจะคำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลและการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
1.2.2 ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ หมายถึง การนำวิธีการทางจิตวิทยา มานุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะเน้นเรื่องเทคนิคที่เป็นวิธีการ และกระบวนการเรียนการสอนมากกว่าวัสดุ และเครื่องมือ

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ชุมทางรัก


ชุมทางสุราษฎร์ฯคล้ายชุมทางน้ำตาวันพี่ขึ้นรถไฟลา จากไปเพื่อฝันสองเรา พี่บ่าวต้องเข้ากรุงไกล โบกมือลาน้ำตาไหล ขออย่าลืมสัญญาใจของเราสองทะเลน้อยช่วยดึงใจ เมื่อรถไฟผ่านพัทลุงชุมรักอย่าไปยุ่ง เมื่อพี่เข้า เขาชุมทองนครศรีธรรมราช ไหว้พระธาตุให้คุ้มครองผ่านสุราษฎร์ขอร้อง ให้เป็นคนดี นะพี่บ่าวรถเข้าท่าชนะ ขอให้พี่ชนะภัยชุมพรเมื่อผ่านไป ขอพรชัย ให้รักเรารถถึงบางสะพาน อย่าทอดสะพานให้สาวๆประจวบแดนขุนเขา สัญญาเราให้มั่นคงอย่าหลงไปใจอ่อน เอ่ยคำอ้อน สาวหัวหินชะอำอย่าถวิล เพชรบุรี พี่อย่าหลงผ่านราชบุรี อย่าเหล่สาว ชาวเมืองโอ่งรักเราให้ยืนยง เหมือนดังองค์ ปฐมเจดีย์พี่ผ่านศาลายา อย่ามองหา ศาลาใจบางซื่ออย่าหวั่นไหว ขอให้ซื่อต่อรักนี้สามเสนรถแล่นเข้า รักสามเส้า อย่าให้มีเก็บหัวใจให้ดี เมื่อพี่ลงหัวลำโพง